วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

จังหวัดตรัง

จังหวัดตรัง

ภาพสะพานกระโจมไฟ  และภาพลูกคลื่น
ภาพสะพานกระโจมไฟ  หมายถึง  จังหวัดตรังเคยเป็นเมืองท่า
ทำการค้าขายกับต่างประเทศ
ภาพลูกคลื่น  หมายถึง  ลักษณะพื้นที่ของจังหวัดตรัง  เป็นเนินเล็ก ๆ สูงๆ ต่ำๆ  คล้ายลูกคลื่น


สัญลักษณ์ประจำจังหวัดตรัง

ดอกศรีตรัง







ความเป็นมาของจังหวัดตรัง






  จังหวัดตรัง เป็นอีกจังหวัดหนึ่ง ที่อยู่ในเขตภาคใต้ ของประเทศไทย นับได้ว่าเป็นจังหวัดที่นักท่องเที่ยว ให้ความสนใจอีกจังหวัดหนึ่ง เพราะเป็นเมืองท่า ที่มีการค้าขาย การคมนาคม ที่สะดวกสบาย ในสมัยก่อนนั้นตรัง จะรู้จักกันดี ในชื่อที่ว่า “เมืองทับเที่ยง” โดยจังหวัดตรัง มีพื้นที่มากกว่า 4,917.519 ตารางกิโลเมตร ที่ถือได้ว่าเป็นจังหวัด ที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 43 ของจังหวัดทั้งหมด ในประเทศไทย
          ในอดีตนั้น จังหวัดตรัง ถือได้ว่าเป็นเมืองท่าที่สำคัญเมืองหนึ่ง ของประเทศไทย ที่มีการค้าการขายของกับ ชาติต่างๆ มากมาย จึงทำให้จังหวัดตรัง เป็นศูนย์กลางการคมนาคม ไปสู่ นครศรีธรรมราช นอกจากนี้ จังหวัดตรัง ยังเป็นจังหวัดแรก ที่มีการนำต้นยางพารา จากประเทศมาเลเซีย โดย พระยารัษฏานุประดิษฐมหิศรภักดี มาปลูกอีกด้วย และเป็นจังหวัดท่องเที่ยว อีกจังหวัดหนึ่งของภาคใต้ ดังคำขวัญของจังหวัดตรังที่ว่า “เมืองพระยารัษฏา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเสิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวนตระการตา”






คำขวัญประจำจังหวัดตรัง

เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง
หมูย่างรสเลิศ       ถิ่นกำเนิดยางพารา
เด่นสง่าดอกศรีตรัง   ปะการังใต้ทะเล
เสน่ห์หาดทรายงาม   น้ำตกสวยตระการตา

The city of Phayarassda;
broad-hearted citizen;
dilicious roast pork;
origin place of para rubber;
lovely sritrang flower;
beautiful coral reef;
charming sandy beach;
and wonderful waterfall.



สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดตรัง


อนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี






          ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองตรัง ทางไปจังหวัดพัทลุง ห่างจากใจกลางเมืองประมาณ 1 กิโลเมตร ผู้ที่เดินทางไปถึงจังหวัดตรังทุกคนมักแวะไปทำความเคารพอนุสาวรีย์ของท่าน บริเวณนั้นแต่เดิม เป็นที่ตังพระตำหนักผ่อนกาย ซึ่งจัดรับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันได้ตกแต่งเป็นสวนสาธารณะอันร่มรื่น เวลาเย็นๆ มีประชาชนไปพักผ่อนเป็นจำนวนมาก พระยารัษฎาฯ ได้สร้างและทำนุบำรุงความเจริญแก่จังหวัดตรังไว้มาก เช่น ด้านคมนาคมในจังหวัดตรัง ด้านเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ ด้านการศึกษา การปกครอง นโยบายรักษาความสงบและการสาธารณสุข ฯลฯ และเป็นผู้นำต้นยางต้นแรกที่ปลูกในจังหวัดตรัง จนแพร่หลายทั่วภาคใต้




เกาะมุกเเละถ้ำมรกต



ภาพถ้ำมรกต
          เป็นเกาะใหญ่อีกเกาะหนึ่งในน่านน้ำตรัง หากมองจากภาพถ่ายทางอากาศจะเห็นหัวแหลมของเกาะมุก ยื่นแหลมออกมากลางทะเล บริเวณหัวแหลม คือเขตชุมชนบ้านเกาะมุก ที่ขนาบด้วยหาดเทียบท่าเรือเข้าหมู่บ้าน คือ หาดหัวแหลม และอีกด้านมีลักษณะโค้งเป็นอ่าวกำบังลมได้ดี เรียกว่า อ่าวพังกา ชายทะเลทั้งสองด้านมีหาดทรายขาวสะอาด น้ำใส เหมาะที่จะเล่นน้ำได้ดี   ลักษณะของเกาะส่วนใหญ่เป็นโขดผาสูงตระหง่าน  หันหน้าออกสู่ทะเลใหญ่ ทางด้านทิศตะวันตก  หมู่บ้านชาวประมงจะอยู่ทางฝั่งตะวันออกของตัวเกาะ ซึ่งหันหน้าเข้าแผ่นดินใหญ่  หน้าผาโขดหินสูงเป็นที่อยู่อาศัยของนกนางแอ่นและได้ซุกซ่อนถ้ำมรกตหรือถ้ำน้ำ ซึ่งมีความงดงามตระการตาได้อย่างมิดชิด ถ้ำมรกรตนี้จะเข้าออกได้เฉพาะช่วงน้ำลงเท่านั้น โดยปากน้ำเป็นโพรงเล็กๆ สูงพ้นระดับน้ำพอเรือลอดได้ พ้นปากถ้ำเข้าไปเป็นเส้นทางคดโค้ง ระยะทางประมาณ 80 เมตร เมื่อพ้นปากน้ำเข้าไปเป็นเส้นทางออกมาอีกด้านหนึ่ง จะเป็นหลังคาและผนังแต่งแต้มด้วยลายเขียวของใบไม้ โพรงที่ลอดเข้าถ้ำมรกตจะอยู่ทางทางด้านทิศตะวันตกของตัวเกาะ  
          การเดินทางไปเกาะมุกนั้น นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการนำเที่ยวของบริษัททัวร์ในตัวเมืองตรัง หรือ บริการของรีสอร์ทบนเกาะไหงและเกาะกระดาน ถ้าเดินทางไปเอง เริ่มต้นจากท่าส้ม (ฝั่งตรงข้ามท่าเรือกันตัง) โดยจะมีรถโดยสารไปท่าเรือควนตุ้งกู เวลาบ่ายโมง ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร จากท่าเรือควนตุ้งกู นั่งเรือไปอีกประมาณ 30 นาทีก็ถึงตัวเกาะ หรือขึ้นเรือที่ท่าเรือปากเมง ใช้เวลาเดินทาง 40 นาที 




เกาะกระดาน



ภาพเกาะกระดาน
          เป็นเกาะที่สวยเกาะหนึ่งของจังหวัดตรัง มีเนื้อที่ประมาณ 600 ไร่ ซึ่ง 5 ใน 6 ส่วนของเกาะนี้ อยู่ในความรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ที่เหลือเป็นสวนยางและสวนมะพร้าวของเอกชน รวมทั้งร้านอาหารและที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว จุดเด่นของเกาะกระดานคือ ชายหาดที่มีทรายขาวละเอียดเหมือนแป้ง  และน้ำใสจนมองเห็นแนวปะการังซึ่งทอดยาวจากชายหาดด้านเหนือถึงชายฝั่ง และมีฝูงปลาหลากสีแหวกว่ายอย่างสวยงาม สำหรับผู้นิยมการโต้คลื่นด้านหลังเกาะมีอ่างเล็กๆ มีคลื่นลูกโตๆ สาดม้วนเข้าหาหาดเป็นระลอกๆ  เหมาะสำหรับเล่นกระดานโต้คลื่น เกาะกระดานอยู่ทางด้านตะวันตกของเกาะมุก และเกาะลิบง โดยใช้เวลาเดินทางจากปากเมง ประมาณ 1 ชั่งโมง 40 นาที 
          รอบเกาะมีชายหาดอยู่ 4 แห่ง เกาะกระดานจึงเป็นเกาะที่สวยที่สุดของทะเลตรัง ที่มีเกาะอื่นรายรอบเป็นบริวาร ชายหาดเป็นทรายขาวละเอียด น้ำใส จนมองเห็นริ้วทรายใต้พื้นน้ำ สุดชายหาดด้านเหนือ มีแนวปะการังทอดยาวออกไปในทะเล บริเวณชายฝั่งเป็นปะการังน้ำตื้น 
          ชายหาดบนเกาะได้แก่
  • ชายหาดเกาะกระดาน เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ อยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะ มีชายหาดขาวยาวประมาณ 2 กิโลเมตร บริเวณด้านหน้าของชายหาด นักท่องเที่ยวนิยมมาดำน้ำดูปะการัง ซึ่งยาวตลอดแนวชายหาด จากชายหาดสามารถมองเห็นเกาะลิบง เกาะแหวน เกาะมุก และเกาะเชือก และยังสามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นได้อีกด้วย
  • ชายหาดอ่าวเนียง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ เป็นหาดทรายขาวยาวประมาณ 800 เมตร ด้านหน้าชายหาดนักท่องเที่ยวนิยมดำน้ำดูปะการัง ซึ่งมีตลอดแนวชายหาด จากชายหาดนี้สามารถมองเห็นเกาะลิบงได้
  • ชายหาดอ่าวไผ่ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ เป็นหาดทรายขาวยาวประมาณ 200 เมตร ด้านหน้าของชายหาดไม่มีแนวปะการัง สามารถมองเห็นเกาะเชือก เกาะแหวน เกาะมุก สามารถชื่นชมกับดวงอาทิตย์ตกได้สวยงาม
  • ชายหาดอ่าวช่องลม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะ อยู่เหนือที่ทำการพิทักษ์อุทยานฯ ห่างไปประมาณ 800 เมตร สามารถเดินเท้าขึ้นเนินไปชมดวงอาทิตย์ตก มองเห็นเกาะรอกได้อย่างชัดเจน
เกาะลิบง







เกาะลิบง
          เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในอำเภอกันตังตั้งอยู่ที่ตำบลลิบง การเดินทางนักท่องเที่ยวต้องไปลงเรือที่ท่าเรือกันตัง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง เกาะมีพื้นที่ประมาณ 25,000 ไร่ ได้รับประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ซึ่งเป็นแหล่งรวมของหลายชนิด และเป็นที่อยู่อาศัยของปลาพะยูน รอบๆ เกาะมีแหลมและกาดหลายแห่ง เช่น หาดตูบ แหลมจุโหย แหลมทวด แหลมทวด แหลมโต๊ะชัย เป็นต้น 




หาดเจ้าไหม





อุุุุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ถือได้ว่าเป็น สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดตรัง อีกสถานที่หนึ่งที่มีความหลากหลาย ของธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นป่าชายเลน เกาะแก่งต่างๆ หญ้าทะเล และหาดทรายที่มีความเป็นเอกลักษณ์ สีขาวนวล เรียงยาวกว่า 20 กิโลเมตร อีกทั้งมีสนทะเลตามธรรมชาติ สวยงามมาก อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ตั้งอยู่ทางฝั่งทะเลอันดามัน ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเล ทางด้านทิศตะวันตก ของอำเภอกันตัง อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง กับพื้นที่มากกว่า 230 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 144,292.35 ไร่
อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม แบ่งพื้นที่ออกได้เป็น 2 ส่วนได้แก่
  • พื้นที่ดินชายฝั่งทะเล ที่รวมไปถึง เกาะมุกต์ เกาะแหวน เกาะกระดาน เกะเชือก เกาะปิง เกาะเมง และเกาะเจ้าไหม ซึ่งบริเวณชายฝั่งของ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จะมีลักษณะเป็นหินปูนสูงชัน ที่เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร น้อยใหญ่หลายสาย ที่ไหลมารวมกันเป็นคลองบางสัก จากนั้นก็ไหลลงสู่แม่น้ำตรัง
  • พื้นที่น้ำ ส่วนมากจะมีลักษณะ เป็นห้วงน้ำลึก ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 137 ตารางกิโลเมตร เฉลี่ยความลึกของน้ำอยู่ที่ประมาณ 20 เมตร
          อุุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม เป็น สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดตรัง ที่มีความ สมบูรณ์แบบ มีศูนย์บริการสำหรับ นักท่องเที่ยว มีห้องน้ำสำหรับนักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยว ที่มีความประสงค์จะพักแรม ด้วยการกางเต็นท์ทาง อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ก็มีสถานที่สำหรับให้นักท่องเที่ยว ได้กางเต็นท์พักแรมอีกด้วย สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติเจ้าไหม ตู้ ปณ. 9 หมู่ 5 ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเภา จังหวัดตรัง หมายเลขโทรศัพท์ 075-210099







ของกิน  ของฝาก  ในตรัง








ร้านกาแฟ

เมืองตรัง เมืองคนช่างกิน  ถนนทุกสายในเมืองตรังมีร้านกาแฟเปิดบริการอยู่แทบทุกสาย บางร้านเปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง  ร้านกาแฟที่เมืองตรังนี้ การบริการจัดว่าพิเศษกว่าที่อื่นอยู่มากๆ คือ มีบริการขนมกับแกล้ม ซึ่งเรียกว่า "เครื่องเคียง" นับสิบๆ อย่างมาให้ลิ้มลองตั้งแต่ ขนมจีบ ซาลาเปา ขนมประเภทนึ่ง ทอดร้อนๆ เช่น   ปาท่องโก๋ จาก๊วย(หรือที่เรียกปาท่องโก๋) ซึ่งบางร้านอาจจะมี หมูย่าง สูตรชาวตรังให้ลิ้มลอง เป็นรายการ พิเศษอีกบรรดาอาหารเครื่องเคียงที่พนักงานเสริฟ ยกมาให้จนเต็มโต๊ะนั้น จะคิดราคาเท่าที่กินเท่านั้น  เรียกว่ากินกี่ชิ้นกี่อย่างก็คิดราคาตามนั้น  




หมูย่างสูตรเมืองตรัง

อาหารอร่อยที่เชิดหน้าชูตาของชาวตรังอีกอย่างหนึ่ง ที่หลายๆ คนรู้จักกันดี หนังกรอบเนื้อหอมนุ่ม รสชาติอร่อยมีกรรมวิธีหมัก ใส่เครื่องปรุงตลอดจนถึงการคัดเลือกหมูเพื่อมาย่าง อย่างพิถีพิถันหมูย่างนี้นอกจากใช้แกล้มกาแฟแล้ว ยังใช้ขึ้นโต๊ะไม่ว่างานแต่งงาน งานตรุษสารท งานเลี้ยงต่างๆ แม้แต่งานศพและพิธีเซ่นไหว้ทั้งหลาย  เป็นของฝากอิ่มท้องของฝากนี้มีข้อแม้ว่าต้องนำไปฝากให้ถึงมือภายในครึ่งวัน มิฉะนั้นจะคลายร้อนเสียอรรถรส  ทางที่ดีให้ชักชวนกันมารับประทานที่ร้านจะเข้าทีได้รสดีกว่ากันเยอะ รับรองไม่ผิดหวังสูตรเมืองตรังเป็นหนึ่งแน่แท้







เค้กเมืองตรัง

เป็นขนมที่ทำมากันแต่ดั้งเดิม ต้นกำเนิดอยู่ที่ ต.ลำภูรา อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ซึ่งเป็นที่ขึ้นชื่อลือชาไปทั่วประเทศ ด้วยรสหอมหวานกลมกล่อมอย่างมีเอกลักษณ์ มีหลายรสหลายกลิ่นหลายเจ้าให้เลือกได้ ตามใจชอบบรรจุกล่องสวยงาม ซึ่งมีหลากหลายรส เช่น เค้กใบเตย เค้กกล้วยหอม เค้กส้ม เค้กกาแฟ เค้กสามรส สามารถหาซื้อได้ที่ลำภูรา หรือในตัวเมืองก็มีขาย ราคาประมาณเป็นกันเอง





การเดินทาง






ทางรถยนต์ส่วนตัว

      ตรังอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 828 กิโลเมตร การเดินทางโดยรถยนต์ทำได้ 2 ทาง คือ

       1. ใช้เส้นทางจากกรุงเทพฯ-สุราษฎร์ธานี ระยะทางประมาณ 617 กิโลเมตร และตรงมาตามทางหลวงแผ่นดินสาย 41 สู่อำเภอทุ่งสง ระยะทาง 133 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินสาย 403 สู่ห้วยยอดระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินสาย 4 อีก 28 กิโลเมตร ถึงตรัง รวมเป็นระยะทาง 828 กิโลเมตร
       2. ใช้เส้นทางจากกรุงเทพฯ มาตามทางหลวงหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) ระยะทาง 90 กิโลเมตร และแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) จนถึงชุมพร แยกเข้า ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง รวมระยะทาง 1,020 กิโลเมตร 







  
ทางรถไฟ

      สำหรับการเดินทางโดยรถไฟ มีรถด่วนและรถเร็วออกจากสถานีกรุงเทพฯ ถึงสถานีตรังทุกวัน วันละ 2 ขบวน

ตารางเดินทางรถไฟ
กรุงเทพฯ - ตรัง
รถด่วนออก 17.05 น.ถึง 7.55 น.
รถเร็วออก 18.20 น.ถึง 10.20 น.


ตรัง - กรุงเทพฯ
รถเร็วออก 13.25 น.ถึง 5.15 น.
รถด่วนออก 17.20 น.ถึง 8.25 น.


อัตราค่าโดยสารรถไฟ
ชั้น 1ห้องแอร์ส่วนตัวเตียงบน
เตียงล่าง
1,280 บาท
1,480 บาท
ชั้น 2นอนปรับอากาศ
รถด่วน

รถเร็ว

เตียงบน
เตียงล่าง
เตียงบน
เตียงล่าง

761 บาท
831 บาท
691 บาท
741 บาท
นอนปรับอากาศ (JR)
รถด่วน

เตียงบน
เตียงล่าง

781 บาท
871 บาท
นอนพัดลม
รถเร็ว

เตียงบน
เตียงล่าง

521 บาท
571 บาท
นั่งแอร์
รถด่วน

571 บาท
นั่งพัดลม
รถเร็ว

421 บาท
ชั้น 3รถด่วน
รถเร็ว
285 บาท
245 บาท





ทางเครื่องบิน


กรุงเทพฯ- ตรัง       โทร. 1126ตรัง - กรุงเทพฯ       โทร. 1126
วันเดินทางเที่ยวบินออกถึงวันเดินทางเที่ยวบินออกถึง
ทุกวันOG870707:3008:55ทุกวันOG870809:2010:45



กรุงเทพฯ- ตรัง       โทร. 1318ตรัง - กรุงเทพฯ       โทร. 1318
วันเดินทางเที่ยวบินออกถึงวันเดินทางเที่ยวบินออกถึง
ทุกวันDD740012:0013:25ทุกวันDD740113:5515:20

สายการบิน
รหัส
โทรศัพท์
อัตราค่าโดยสาร
One-Two-Go
OG
1126
1,750 (ช่วงเทศกาลราคาจะเพิ่มขึ้น)
นกแอร์
DD
1318
ขึ้นอยู่กับวันเดินทาง







ป่าชายเลน



ป่าชายเลนในประเทศไทย


  ป่าชายเลน หรือป่าโกงกาง (Mangrove forest หรือ Intertidal forest) คือกลุ่มของสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุด และน้ำขึ้นสูงสุดบริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ หรืออ่าว ป่าชายเลนเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด ทั้งพืชและสัตว์ ป่าชายเลนจึงให้ประโยชน์แก่มนุษย์มากมาย ทั้งในด้านพลังงานและไม้ใช้สอย ตลอดจนเป็นแหล่งผลิตอาหารโปรตีนที่สำคัญ เนื่องจากป่าชายเลนเป็นที่วางไข่ แหล่งอาหาร และเจริญเติบโตของสัตว์น้ำเศรษฐกิจนานาชนิ นอกจากนี้ ป่าชายเลนยังช่วยป้องกันภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะเป็นเกราะกำบังและลดความรุนแรง ของคลื่นลมชายฝั่ง ช่วยดักตะกอนสิ่งปฏิกูล และสารพิษต่างๆ มิให้ไหลลงไปสะสมในบริเวณชายฝั่งและในทะเล ในปัจจุบันมีปัญหาหลายประการ ได้แก่ การเพาะเลี้ยงชายฝั่ง แหล่งชุมชน แหล่งอุตสาหกรรม การเกษตรกรรม และกิจกรรมอื่นอีกหลายประเภทได้ขยายไปสู่ชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าชายเลน จนทำให้ป่าชายเลนลดลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงจนน่าเป็นห่วง
          ป่าชายเลนเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งในด้านการป่าไม้ การประมง และสิ่งแวดล้อม เช่น
          ในด้านป่าไม้ ไม้จากป่าชายเลนโดยเฉพาะไม้โกงกางนำมาทำฟืน เผาถ่าน ให้ถ่านที่มีคุณภาพดี ไม้ป่าชายเลนอีกหลายชนิดนำไปทำสิ่งก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ และกลั่น เอกสารเคมีที่เป็นประโยชน์ เช่น แทนนิน แอลกอฮอล์ กรดน้ำส้ม และน้ำมันดิน
          ในด้านการประมงป่าชายเลนเป็นแหล่งขยายพันธุ์ และที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด เช่น กุ้ง อันได้แก่ กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย โดยมีคนศึกษาพบว่าบริเวณป่าชายเลนประเทศไทย มีกุ้งชนิดต่างๆ ประมาณ 16 ชนิด สัตว์น้ำประเภทปลา เช่น ปลากะพงขาว ปลาเก๋า ปลากระบอก และปลานวลจันทร์ทะเล สัตว์น้ำประเภทหอย ได้แก่ หอยนางรม หอยแมลงภู่ หอยแครง และหอยกะพง สัตว์น้ำประเภทปู จะพบมากชนิด เช่น ปูแสม ปูทะเล และปูม้า เป็นต้น
          ในด้านสิ่งแวดล้อมป่าชายเลน มีความสำคัญในด้านการอนุรักษ์พื้นที่ชายฝั่งทะเลโดยเฉพาะช่วยลดภาระน้ำเสียและยังช่วยทำให้เกิดการงอกของแผ่นดินขยายออกไปสู่ทะเลอีกด้วย


ห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศป่าชายเลน

ระบบนิเวศวิทยาที่เกิดขึ้นในป่าชายเลนนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ที่มีต่อกันระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม พืชพรรณธรรมชาติชนิดต่าง ๆ เมื่อได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสงจะทำให้เกิดอินทรียวัตถุและการเจริญเติบโต กลายเป็นผู้ผลิต (producers) ของระบบส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ นอกเหนือจากมนุษย์นำไปใช้ประโยชน์จะร่วงหล่นทับถมในน้ำและในดิน ในที่สุดก็จะกลายเป็นแร่ธาตุของพวกจุลชีวัน เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา แพลงก์ตอน ตลอดจนสัตว์เล็ก ๆ หน้าดินที่เรียกกลุ่มนี้ว่า ผู้บริโภคของระบบ (detritus consumers) พวกจุลชีวันเหล่านี้จะเจริญเติบโตกลายเป็นแหล่งอาหารของสัตว์น้ำเล็ก ๆ อื่น ๆ และสัตว์เล็ก ๆ เหล่านี้ จะเจริญเติบโตเป็นอาหารของพวกกุ้ง ปู และปลาขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับของอาหาร (tropic levels) นอกจากนี้ ใบไม้ที่ตกหล่นโคนต้นอาจเป็นอาหารโดยตรงของสัตว์น้ำ (litter feeding) ก็ได้ ซึ่งทั้งหมดจะเกิดเป็นห่วงโซ่อาหารขึ้น ในระบบนิเวศป่าชายเลน และโดยธรรมชาติแล้วจะมีความสมดุลในตัวของมันเอง แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งก็จะเป็นผลทำให้ระบบความสัมพันธ์นี้ถูกทำลายลง จนเกิดเป็นผลเสียขึ้นได้ เช่น ถ้าหากพื้นที่ป่าชายเลนถูกบุกรุกทำลาย จำนวนสัตว์น้ำก็จะลดลงตามไปด้วยตลอดจนอาจเกิดการเน่าเสียของน้ำ


ประเภทของป่าชายเลน

 ป่าชายเลนสามารถแบ่งได้ 4 ชนิด
          1.Basin forest เป็นป่าชายเลนที่มี พบติดกับแผ่นดินใหญ่ตามลำน้ำและได้อิทธิพลจากน้ำทะเลน้อยมากน้ำทะเลจะท่วมถึงเฉพาะเวลาที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุด

          2.Riren forest เป็นป่าชายเลนที่พบบริเวณชายฝั่งแม่น้ำใหญ่ที่ติดกับทะเล ทะเลสาบ มีน้ำทะเลท่วมถึงทุกวัน


          3.Fringe forest เป็นป่าชายเลนที่พบบริเวณชายฝั่งทะเลที่ติดกับแผ่นดินหรือรอบเกาะที่เป็นเกาะใหญ่ น้ำทะเลท่วมถึงเสมอเป็นประจำทุกวัน ยกเว้น ชายฝั่งทะเลของเกาะใหญ่น้ำทะเลท่วมถึงเมื่อน้ำทะเลขึ้นสูงสุด

          4.Overwash forest เป็นป่าชายเลนที่พบตามเกาะเล็กๆ เมื่อน้ำทะเลขึ้นสูงสุดจะท่วมต้นไม้หมด พรรณไม้ที่จะเตี้ยกว่าปกติ มีอัตราการเติบโตต่ำ

ประโยชน์ของป่าชายเลน

  • เป็นแหล่งพลังงานและอาหาร
  • เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ตามธรรมชาติ
  • เป็นเครื่องป้องกันแนวชายฝั่งทะเล
  • ควบคุมการกัดเซาะพังทลาย
  • เพื่อซับน้ำเสีย
  • เป็นแนวกำบังกระแสน้ำเชี่ยวที่ปากแม่น้ำและพายุหมุน
  • เป็นแหล่งวัตถุดิบผลิตภัณฑ์จากไม้
  • เป็นแหล่งเชื้อเพลิง
  • เป็นแหล่งวัสดุก่อสร้าง
  • เป็นแหล่งวัตถุดิบสิ่งทอและหนังสัตว์
  • เป็นแหล่งอาหาร ยา และเครื่องดื่ม
  • การผลิตกรดจากเปลือกไม้ (tannin)
  • การทำเหมือนแร่ดีบุกในบริเวณป่าชายเลน
  • ให้ผลผลิตน้ำเย็นในระบบหล่อเย็นของโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรม


พันธ์ไม้ป่าชายเลน



ต้นโกงกาง




ต้นตะปูน



 ต้นเเสมขาว



ต้นลำพู




ต้นเหงือกปลาหมอ



การอนุรักษ์ป่าชายเลน

1. การรักษาพื้นที่ป่าชายเลนที่มีอยู่ให้คงไว้ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร และจะต้องช่วยกันหลาย ๆ ฝ่าย ลำพังกรมป่าไม้แต่เพียงหน่วยงานเดียว ย่อมทำได้ยาก การป้องกันอย่างจริงจัง รวมทั้งการจัดการวางแผนการใช้ที่ดินชายฝั่งทะเลให้เหมาะสม จะเป็นทางหนึ่งที่จะรักษาพื้นที่ป่าชายเลนไว้ได้ นอกจากนี้กฏระเบียบต่าง ๆ ตลอดจนมติคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการใช้พื้นที่ป่าชายเลนควรจะใช้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด













2. การเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลน โดยการปลูกป่า ปัจจุบันกรมป่าไม้มีนโยบายที่จะขยายและสนับสนุนการปลูกป่าชายเลนเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของราชการ และส่วนของเอกชน ตามพื้นที่ว่างเปล่าบริเวณชายฝั่งทะเล ทั้งที่ผ่านการทำเหมืองแร่ หรือพื้นที่นากุ้ง หรือนาข้าวที่เลิกไปแล้ว ซึ่งมีอยู่มากมาย และมีโอกาสที่จะฟื้นฟูให้เป็นป่าชายเลนขึ้นมาได้ นอกจากนี้พื้นที่ดินงอกตามชายฝั่งทะเลก็เป็นพื้นที่ที่จะสามารถปลูกป่าชายเลนขึ้นมาได้
3. การใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าชายเลนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการศึกษาวิจัยเพื่อหาวิธีการและเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ใสการใช้ประโยชน์ทั้งทางด้านป่าไม้ ประมงและวิธีการผสมผสานระหว่างป่าไม้กับประมงให้มากขึ้น ซึ่งในเรื่องนี้ หากทางด้านผู้ปฏิบัติการเจ้าหน้าที่ควบคุม และนักวิชาการ ได้ร่วมมือกันอย่างจริงจังแล้ว เชื่อว่าการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าชายเลนจะประสบผลสำเร็จมากขึ้น โดยได้ผลิตผลสูงขึ้น และปราศจากการทำลายระบบนิเวศของตัวเอง